ไปเช็กกินอะไรดี

ไปเช็กกินอะไรดี

อาหารเช็กค่อนข้างคล้ายกับอาหารในแถบประเทศยุโรปอื่นๆ แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบางอย่างที่ไม่ได้เหมือนเสียทีเดียว น้ำหนักตัวอาจจะเพิ่มขึ้นระหว่างอยู่ที่นี้เพราะอาหารเป็นแบบเน้นเนื้อ ไข่ นมและแป้ง เราจะมาดูกันว่าเมนูไหนไม่ควรพลาด

 

ปาลาฉิงกี้ (Palacinky)

ปาลาฉิงกี้ (Palacinky) คือของหวานที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน เครปชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในยุโรปกลาง มีชื่อเรียกที่เพี้ยนกันออกไปตามภาษานั้นๆ โดยรากศัพท์เดิมมาจากคำว่าปลาเชนต้า (Placenta) ในภาษาลาตินที่แปลว่า เค้กแบน สังเกตได้ว่ามีลักษณะคล้ายเครปของฝรั่งเศส แต่ที่จริงแล้วใช้กระบวนการทำที่ต่างกัน

ราอาจจะทราบว่าจุดเริ่มต้นของเครปคือศตวรรษที่ 12 ในแคว้นเบรอตาญ (Brittany) ของฝรั่งเศส แต่ที่จริงแล้วปาลาฉิงกี้ (Palacinky) มีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมันในยุคก่อนที่ชื่อว่าพาโนเนีย (Pannonia) ตั่งอยู่บริเวณแม่น้ำดานูบ (Danube) ในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอายุมากกว่าเครปของฝรั่งเศส

โดยทั่วไปแล้วจะเสิร์ฟเป็นของว่าง หรือของหวานหลังมื้ออาหาร โดยใส่แยม ผลไม้ ชีส ไอศกรีม และบางที่ก็ใส่ถั่วเพิ่มไปด้วย แต่ก็มี ปาลาฉิงกี้ (Palacinky) ที่ทานเป็นของคาวคือใส่ผักโขมและครีมซอส ถ้าเป็นการทำแบบดั้งเดิมที่สุดของเช็กคือเครปจะถูกม้วนให้เป็นม้วนกลมๆ แต่เมื่อเมนูนี้แพร่หลายมากขึ้น คนก็ทำในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่นพับเป็นสามเหลี่ยมหรือ นำมาซ้อนกัน จากนั้นก็โรยหน้าตามใจชอบ สามารถหาทานได้ทั่วไปตามร้านคาเฟ่และร้านอาหารท้องถิ่นของเช็ก

ตระเดลนีก (Trdeln?k)

ถ้าไปเช็กเราจะเห็นขนมชนิดนี้ย่างอยู่บนเตาและถูกหมุนไปอย่างช้าๆ ส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากไหน บางคนบอกว่าเป็นของเมืองสกาลิก้า (Skalica) ที่อยู่ในสโลวาเกีย แต่คนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นของคนฮังการี 

โดยในศตวรรษที่ 18 ตระเดลนีก (Trdeln?k) ได้ถูกนำมาจากทรานซิเวเนียโดยชายเกษียณคนหนึ่งที่ชื่อว่า โยเชฟ กวาดานี (Jozsef Gvadanyi) และคนสโลวาเกียในเมืองสกาลิก้า (Skalica) ได้ทำการปรับปรุงสูตรและตั้งชื่อให้ขนมชนิดนี้ว่าสกาลิกี้ ตระเดลนีก (Skalicky trdelnik) และได้กลายเป็นขนมที่เป็นที่แพร่หลายไปทั่ว สำหรับในเช็กถือได้ว่าเป็นขนมที่ทุกคนมาแล้วต้องได้ทาน
ชื่อของตระเดลนีก Trdeln?k นั้นมาจากคำว่าตระดรอ (Trdlo) ที่มีความหมายว่า แท่งไม้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นแท่งเหล็กแล้ว โดยแป้งจะถูกพันไปรอบๆแท่งเหล็กจนกลายเป็นเกลียวซ้อนกัน และอบด้วยเตาแล้วหมุนไปมาจนกระทั่งสุก หลังจากที่นำออกมาก็จะมีรูอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันนี้ร้านค้าก็นำเอามาดัดแปลงใส่ผลไม้ ครีม และขนมหวานอื่นๆลงไปหลากหลายรสชาติ


ปลาคาร์พทอดกับสลัดมันฝรั่ง (smazen? kapr s bramborov?m sal?tem)

ปลาคาร์พทอดกับสลัดมันฝรั่งจะถูกเสริ์ฟช่วงคริสต์มาสในครอบครัวของคนเช็ก แต่ที่จริงแล้วเมนูนี้คือเมนูที่เป็นประเพณีของศาสนาคริสต์ซึ่งแพร่หลายในแถบยุโรป ดั้งเดิมแล้วถูกทำขึ้นในศตวรรษที่ 19 โดย มาดาเลนา โดโบรมิลา เรททิโกวา (Magdalena Dobromila Rettigov?) เธอได้แบ่งบันสูตรปลาคาร์พทอดกับสลัดมันฝรั่ง ในหนังสือทำอาหารโดมาชี กูคาชกา (Dom?c? kucharka) พิมพ์ครั้งแรกในปี 1826 

ปลาคาร์พชนิดนี้ไม่ใช่ปลาคาร์พสวยงามที่เราเลี้ยงกัน เป็นปลาน้ำจืดที่มีกลิ่นค่อนข้างคาว รสชาติคล้ายปลาทับทิม โดยนำไปชุบแป้งทอดทานพร้อมกับสลัดที่ใส่ มันฝรั่ง หอมใหญ่ ไข่ต้ม น้ำส้มสายชูและน้ำมัน ถือว่าสูตรอาหารนี้เปลี่ยนวิถีการกินในช่วงคริสต์มาสของหลายๆครอบครัวในยุโรปไปอย่างสิ้นเชิง
 

กูลาช (Gul?s)

เป็นเมนูที่ใช้เวลานานในการทำ ต้องเคี่ยวเนื้อและผักทิ้งไว้จนนิ่ม มีรสชาติเผ็ดเล็กน้อย หรือสำหรับคนที่ทานเผ็ดเป็นประจำอาจจะไม่รู้สึกเผ็ดเลย มีขายทั่วไปในร้านอาหารเช็ก โดยเมนูนี้เป็นเมนูของฮังการี แต่กูลาช (Gul?s) ของฮังการีเป็นน้ำใสและกูลาช (Gul?s) ของเช็กจะมีลักษณะเป็นข้นๆมีเนื้อเยอะและผักน้อย ซึ่งในสมัยก่อนทั้งสองประเทศคืออาณาจักรเดียวกันจึงเป็นธรรมดาที่อาหารจะมีการถ่ายทอดกันไปมา
ส่วนใหญ่แล้วคนเช็กจะทานเมนูนี้คู่กับดัมลิ้งที่เป็นแป้งสีขาวนุ่ม (houskov? knedl?ky) และตามร้านเบียร์ก็ขายกูลาช (Gul?s) เป็นเหมือนกับแกล้มที่ทานคู่กับเบียร์ สำหรับคนที่ไม่ชอบทานเนื้อวัวอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อได้ทานเนื้อวัวในกูลาช (Gul?s) สไตล์เช็ก

Smazen? S?r

เมนูนี้คือชีสมอสโซเรลล่าทอดนั้นเอง โดยนำชีสมาตัดเป็นแท่งๆ ชุดแป้ง ไข่และเกล็ดขนมปัง จากนั้นก็ทอดจนเหลืองกรอบ ในบางที่เสิร์ฟคู่กับสลัด ผักกาด มันฝรั่ง ทาร์ทาร์ซอส หรือบางที่ก็เสิร์ฟกับขนมปังที่เป็นเหมือนกับเบอร์เกอร์ทานกับซอสทาร์ทาร์และซอสมายองเนส แต่ถ้าเป็นในแบบหลังก็จะถูกเสริ์ฟเป็นเมนูหลัก ไม่ใช่เมนูเรียกน้ำย่อย

ถือได้ว่าชีสทอดนี้เป็นเมนูที่ไม่มีเนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเช็ก และก็เป็นอีกเมนูที่บางคนทานคู่กันกับเบียร์ จะเห็นได้ทั่วไปตามบาร์ ร้านอาหารหรือร้านที่เป็นซุ้มๆตามถนน

Knedl?ky

คะเน็ดลิกกี้ (Knedliky) คำนี้มาจากภาษา ยูท็อน (Teutonic) คำว่า (knodel) หมายถึงน็อต แต่ปัจจุบันในเช็กหมายถึงดัมลิ้งหรือแป้งต้ม คะเน็ดลิกกี้ (Knedliky) ดั้งเดิมแล้วมาจาก อาสเคนเนซิม (Ashkenazim) หรือชาวยิวนิกายหนึ่งนั้นเอง โดยพวกเขาทานกันเป็นอาหารหลักเหมือนกับที่คนไทยทานข้าว เมื่อครั้งที่ชาวยิวโยกย้ายถิ่นฐานในศตวรรษที่ 12 หรือในปี ค.ศ. 1394 เพราะถูกขับไล่มาจากฝรั่งเศสในตอนที่มีสงครามครูเสด (Crusade) และได้เข้ามามีบทบาทในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง 

ในอดีตเมนูนี้เป็นเมนูที่ได้มาจากขนมปังที่ทานเหลือผสมกับไข่ โดยได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีรสชาติและเนื้อสัมผัสโดยการเคี่ยวไว้ข้ามคืนและนำมาเสิร์ฟแบบอุ่นๆในวันถัดมา สามารถทานได้กับทั้งของคาวและของหวาน ถือว่าเป็นอาหารที่มีเรื่องราวมากมายแฝงอยู่ ซึ่งทำให้การทานดัมลิ้งหรือแป้งต้มที่แสนจะธรรมดานี้มีความน่าประทับใจและอร่อยขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

Grilovan? Klob?sy

กริโลวาเน โกรบาซี (Grilovan? Klob?sy) เป็นเมนูไส้กรอกย่างห่อเบคอนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนเช็ก เพราะมีความรวดเร็วสามารถซื้อทานได้ทันที โดยเฉพาะบริเวณร้านเบียร์ที่อยู่ตามสวนต่างๆ ปกติแล้วคนที่นี่ทานไส้กรอกกับซอสมาสตาดหรือขนมปัง อาจจะมีไส้กรอกหลายประเภทให้ได้เลือกทานแต่ทุกประเภทมีรสชาติดี ซึ่งสามารถซื้อได้ทั่วไปตามร้านเล็กๆในจุดต่างๆ

ในช่วงที่มีเทศกาลคริสต์มาสจะเห็นร้านขายไส้กรอกมากเป็นพิเศษเพราะคนออกมาจับจ่ายและเฉลิมฉลองกัน อาจจะฟังดูเป็นเมนูธรรมดาๆที่หาทานได้ทั่วไปในโลกนี้แต่รับรองว่าไส้กรอกของเช็กมีความแตกต่างเฉพาะตัวที่เราต้องไม่พลาดชิม

Text by : พิมวดี ประสาร สาขาวิชายุโรปศึกษา (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ที่มา www.seeyouagain-europe.com

จองโรงแรม

 

 Booking.com

 

จองโรงแรม

 Booking.com